หลายคนอาจสงสัยว่างาน “World Expo” หรือ “งานมหกรรมโลก” คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ก่อนอื่นขอแนะนำคร่าว ๆ ก่อนละกันครับ งาน World Expo หรืองานมหกรรมโลกเป็นงานนิทรรศการระดับโลกที่ทุกประเทศนำเอาความล้ำหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรมเชิงสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และอุตสาหกรรมมาให้ชาวโลกได้ยลโฉม ภายใต้ธีม (Theme) หรือคอนเซ็ปต์การจัดงานที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามที่คณะกรรมการ World Expo หรือ B.I.E กำหนด ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะสอดคล้องไปตามกระแสที่คนทั่วโลกสนใจในช่วงขณะนั้น สำหรับ World Expo 2010 ที่จะจัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม 2010 นี้จะอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ หรือธีมที่ว่า “Better City, Better Life” “เมืองที่ดีกว่า เพื่อชีวิตที่ดีกว่า” ความสำคัญของงานนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นรองเพียงมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น เนื่องจากความใหญ่โตของงานที่ทุกประเทศทั่วโลกรวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานเอกชนสามารถเข้าร่วมได้ โดยประเทศต่าง ๆ จะใช้เวทีนี้ในการแสดงศักยภาพในด้านต่าง ๆ อาทิ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแขนงต่าง ๆ ความล้ำสมัยและสร้างสรรค์เชิงสถาปัตยกรรม วิศวกรรม รวมไปถึงเป็นเวทีให้ประเทศต่าง ๆ ได้ประชาสัมพันธ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย
งาน World Expo เริ่มจัดครั้งแรกในปี 1851 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นก็มีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าภาพเรื่อยมา โดยประเทศที่ได้เป็นเจ้าภาพมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา ได้จัดทั้งหมด 12 ครั้ง ส่วนเมืองที่ได้จัดงาน World Expo มากที่สุดคือ ปารีส (ฝรั่งเศส) ได้จัดทั้งหมด 7 ครั้ง
ปี 1851 – ลอนดอน (อังกฤษ) ปี 1855 – ปารีส (ฝรั่งเศส)
ปี 1862 – ลอนดอน (อังกฤษ) ปี 1867 – ปารีส (ฝรั่งเศส)
ปี 1873 – เวียนนา (ออสเตรีย) ปี 1876 – ฟิลาเดลเฟีย (สหรัฐอเมริกา)
ปี 1878 – ปารีส (ฝรั่งเศส) ปี 1883 – อัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์)
ปี 1889 – ปารีส (ฝรั่งเศส) ปี 1893 – ชิคาโก (สหรัฐอเมริกา)
ปี 1900 – ปารีส (ฝรั่งเศส) ปี 1904 – เซนต์หลุยส์ (สหรัฐอเมริกา)
ปี 1908 – ลอนดอน (อังกฤษ) ปี 1915 – ซานฟรานซิสโก (สหรัฐอเมริกา)
ปี 1925 – ปารีส (ฝรั่งเศส) ปี 1926 – ซานฟรานซิสโก (สหรัฐอเมริกา)
ปี 1933 – ชิคาโก (สหรัฐอเมริกา) ปี 1935 – บรัสเซล (เบลเยี่ยม)
ปี 1937 – ปารีส (ฝรั่งเศส) ปี 1939 – นิวยอร์ค (สหรัฐอเมริกา)
ปี 1958 – บรัสเซล (เบลเยี่ยม) ปี 1962 – ซีแอตเทิล (สหรัฐอเมริกา)
ปี 1964 – นิวยอร์ค (สหรัฐอเมริกา) ปี 1967 – มอนทรีออล (แคนาดา)
ปี 1970 – โอซากา (ญี่ปุ่น) ปี 1971 – บูดาเปสต์ (ฮังการี)
ปี 1974 – สโปแคน (สหรัฐอเมริกา) ปี 1975 – โอกินาว่า (ญี่ปุ่น)
ปี 1982 – น็อกซวิลล์ (สหรัฐอเมริกา) ปี 1984 – ลุยเซียนา (สหรัฐอเมริกา)
ปี 1985 – ซึกุบะ (ญี่ปุ่น) ปี 1986 – แวนคูเวอร์ (แคนาดา)
ปี 1988 – บริสเบน (ออสเตรเลีย) ปี 1990 – โอซากา (ญี่ปุ่น)
ปี 1992 – เซบีญ่า (สเปน) ปี 1992 – เจนัว (อิตาลี)
ปี 1993 – แตจอน (เกาหลีใต้) ปี 1998 – ลิสบอน (โปรตุเกส)
ปี 2000 – ฮันโนเวอร์ (เยอรมนี) ปี 2005 – ไอจิ (ญี่ปุ่น)
ปี 2008 – ซาราโกซ่า (สเปน) และ ปี 2010 – เซี่ยงไฮ้ (จีน)
สำหรับเจ้าภาพมหกรรมโลกปี 2012 และ 2015 นั้น ทางคณะกรรมการ B.I.E. ได้กำหนดออกมาแล้วคือเมืองโยซู (เกาหลีใต้) และมิลาน (อิตาลี) ตามลำดับ
Shanghai World Expo 2010
กลางปี 2010 นี้ จีนจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo ครั้งที่ 41 ซึ่งถือเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกที่ได้รับเกียรติให้จัดงานระดับโลกในครั้งนี้ (ก่อนหน้านี้ประเทศเจ้าภาพล้วนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว หรือประเทศอุตสาหกรรมทั้งสิ้น” รัฐบาลจีนได้ทุ่มงบประมาณเป็นมูลค่ามหาศาลกว่า 4 แสนล้านหยวนเพื่อเนรมิตพื้นที่จัดแสดงขนาด 5.28 ตารางกิโลเมตร บริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำหวงผู่ รวมทั้งสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับจัดงาน สร้างทางรถไฟใต้ดินสายเฉพาะที่วิ่งเข้าสู่พื้นที่งาน World Expo โดยตรง ปรับปรุงสะพานหลูผู่และหนันผู่ที่เชื่อมระหว่างพื้นที่จัดแสดงทั้ง 2 ฝั่ง ตลอดจนปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค แหล่งมลพิษ วางระบบคมนาคมขนส่ง ระบบสารสนเทศ งานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น เพียงแค่อาคาร (Pavilion) ที่ใช้จัดแสดงของเจ้าภาพจีนก็ใช้งบประมาณไปกว่า 1.5 พันล้านหยวน หรือราว 7 พัน 5 ร้อยล้านบาทเข้าไปแล้ว
ชื่ออย่างเป็นทางการ: Shanghai World Exposition 2010(2010上海世界博览会)
พื้นที่จัดงาน : บริเวณริม 2 ฝั่งแม่น้ำหวงผู่ เขตปินเจียง ระหว่างสะพานหนันผู่(南浦大桥)กับสะพานหลูผู่(卢浦大桥) โดยพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเรียก “ผู่ซี” ฝั่งขวาของแม่น้ำเรียก “ผู่ตง”
ระยะเวลาจัดงาน : 1 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม 2010 (รวม 6 เดือน)
ขนาดพื้นที่งาน : 5.28 ตร.กม. และพื้นที่รอบ ๆ อีก 1.40 ตร.กม.
งบประมาณ : ราว 4 แสนล้านหยวน (ยังไม่รวมงบสร้างศาลาหรืออาคารจัดแสดงของประเทศอื่น ๆ ซึ่งมาจากงบประมาณของประเทศนั้น ๆ เอง) ถือเป็นงบประมาณจัดงาน World Expo ที่มากที่สุดตั้งแต่มีการจัดมา
โลโก้สัญลักษณ์ : ทางเจ้าภาพใช้อักษรตัว “世” ที่แปลว่า “โลก” เป็นสัญลักษณ์ประจำงาน World Expo 2010 ครั้งนี้ โดยตัวอักษร 世 ได้ออกแบบให้มีลักษณะเป็นรูปคน 3 คนจับมือกันอันแสดงถึงความเป็นครอบครัวเดียวกัน ความเข้าใจซึ่งกันและกัน คน 3 คนแทน “Me” “You” และ “Him” ซึ่งมีความหมายในวงกว้างว่า “มนุษย์โลก” มาอยู่ร่วมกัน ร่วมมือกัน ติดต่อสื่อสารกัน ร่วมครื้นเครงกัน นอกจากนี้ยังตีความหมายได้ถึง “สันติภาพ” อีกด้วย
มาสค็อต : มาสค็อตประจำงาน World Expo 2010 มีชื่อว่า “ไห่เป่า” (海宝) ออกแบบเป็นตัวการ์ตูนรูปอักษรจีน “人” ซึ่งแปลว่า “มนุษย์” เพื่อให้สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ของงาน “Better City, Better Life” ที่มีมนุษย์เป็นตัวจักรสำคัญ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์กับสังคม และการอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองระหว่างมนุษย์ด้วยกันอีกด้วย ส่วนชื่อ ไห่เป่า มาจากคำเต็มว่า 四海之宝 (ซื่อไห่จือเป่า) ซึ่งแปลว่า “สมบัติล้ำค่าแห่งท้องทะเล” เนื่องจากทะเลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมหานครเซี่ยงไฮ้อย่างมากในฐานะที่เป็นเมืองท่าสำคัญ สังเกตคำว่าเซี่ยงไฮ้ หรือ 上海 ก็มีคำว่า 海หรือ ทะเล อยู่ในชื่อเมืองเช่นกัน
จำนวนประเทศและองค์กรระหว่างประเทศที่เข้าร่วม : จนถึงขณะนี้มี 241 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมจัดแสดง (มากที่สุดตั้งแต่มีการจัดมา) รวมทั้งมีหน่วยงานเอกชน บรรษัทข้ามชาติ และองค์กรอิสระเข้าร่วมด้วยอีกเป็นจำนวนมาก
จำนวนผู้เข้าชมงาน : คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงาน World Expo 2010 ที่เซี่ยงไฮ้ถึง 70 ล้านคน
เว็บไซต์ทางการ : http://en.expo2010.cn/
เข้าชมงานออนไลน์ : http://en.expo.cn/index.html#lang=t&c=home
โซนจัดแสดง
ทางเจ้าภาพจีนได้แบ่งพื้นที่จัดแสดงออกเป็น 5 โซน ได้แก่ โซน A, B, C, D และ E โดยโซน A, B และ C จะอยู่ฝั่งผู่ตง ทั้ง 3 โซนเป็นพื้นที่จัดแสดงของประเทศต่าง ๆ รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศ และศูนย์จัดแสดงรวมของงาน EXPO ในขณะที่โซน D กับ E จะอยู่ฝั่งผู่ซี ซึ่งเป็นโซนจัดแสดงของบรรดาบรรษัทข้ามชาติ หน่วยงานเอกชน และองค์กรอิสระอื่น ๆ
ประตูทางเข้างานมีทั้งหมด 8 จุด ฝั่งผู่ตง 5 จุด ได้แก่
- Shangnan Rd. Entrance
- Gaoke Xi Rd. Entrance
- Houtan Entrance
- Changqing Rd. Entrance
- Bailianjing Entrance
ฝั่งผู่ซี 3 จุด
- Luban Rd. Entrance
- South Xizang Rd. Entrance
- Bansongyuan Entrance
โซน A
ประกอบด้วย Pavilion หรือศาลาจัดแสดงของประเทศจีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ คาซัคสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย อินเดีย เวียดนาม โมร็อคโก อูสเบกีสถาน อิสราเอล เนปาล อิหร่าน เลบานอน เกาหลีเหนือ ศรีลังกา กาตาร์
ศูนย์จัดแสดงรวมเอเชีย 1, 2 และ 3 (Asia Joint Pavilion)
- Asia Joint Pavilion 1 ประกอบด้วย
มัลดีฟ ติมอร์ตะวันออก บังกลาเทศ คีร์กิสถาน มองโกเลีย
- Asia Joint Pavilion 2 ประกอบด้วย
เยเมน ปาเลสไตน์ จอร์แดน อัฟกานิสถาน ซีเรีย
- Asia Joint Pavilion 3 ประกอบด้วย
ลาว พม่า
โซน B
ประกอบด้วยศูนย์จัดแสดงส่วนกลางของงาน World Expo ได้แก่ Theme Pavilion, Culture Center, Expo Center, Expo Boulevard, Meteo World Pavilion และ Pavilion ของประเทศออสเตรเลีย สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ไทย มาเลเซีย อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ศูนย์จัดแสดงรวมภูมิภาคแปซิฟิก (Pacific Joint Pavilion)
และองค์กรระหว่างประเทศได้แก่ UN Pavilion, International Organization Joint Pavilion, DEVNET Pavilion,Baosteel Stage, WTCA Pavilion และ International Red Cross and Red Crescent Pavilion
โซน C
ประกอบด้วย Pavilion จัดแสดงของประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส แคนาดา รัสเซีย อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ โปแลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ค สวีเดน นอร์เวย์ ออสเตรีย ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ โรมาเนีย สาธารณรัฐเช็ค ฮังการี กรีซ โมนาโก เอสโตเนีย สโลวาเกีย ตุรกี ยูเครน ศูนย์จัดแสดงรวมยุโรป 1 และ 2 (Joint -European Pavilion) เม็กซิโก บราซิล ชิลี เวเนซุเอลา คิวบา โคลอมเบีย เปรู
แอฟริกากลางและใต้ ไนจีเรีย ตูนีเซีย แอลจีเรีย ศูนย์จัดแสดงรวมแอฟริกา (Africa Pavilion) CARICOM, Central & South America Joint Pavilion
- Europe Joint Pavilion 1 ประกอบด้วย
มอลต้า ซานมาริโน ลิกเตนสไตน์ ไซปรัส
- Europe Joint Pavilion 2 ประกอบด้วย
อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจัน บัลแกเรีย จอร์เจีย เซอร์เบีย มอลโดว่า
- Central & South America Joint Pavilion ประกอบด้วย
เอกวาดอร์ อูรุกกวัย ปานามา นิการากัว กัวเตมาลา โดมินิกัน ฮอนดูรัส คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ ปารากวัย โบลิเวีย
โซน D
ประกอบด้วยหน่วยงานเอกชนนักธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ บรรษัทข้ามชาติ
State Grid Pavilion, Oil Pavilion, China Railway Pavilion, Shanghai Corporate Pavilion,
Coca Cola Pavilion, Japan Industrial Pavilion, Shipping Pavilion, Aurora Pavilion, PICC Pavilion, Urban Footprints Pavilion, Space Pavilion, Cisco Pavilion, ROK Business Pavilion, พิพิธภัณฑ์มหกรรมโลก (World Expo Museum), และ Entertainment Hall
โซน E
ประกอบด้วย Urban Dream Pavilion, UBPA-C-2, China Aviation Pavilion,Information and Communication Pavilion, SAIC-GM Joint Pavilion, UBPA-B-3-2,UBPA-B-3, UBPA-B-4, Vanke Pavilion 2049, Ningbo Case, Xi’an Case, London Case,
UBPA-B-1, UBPA-B-2, UBPA-C-1, Hamburg Case, Alsace Case, Macao Case, Private Enterprises Joint Pavilion, Odense Case, Rhones-Alpes Case, Chengdu Case,
Makkah Case, Vancouver Case, และ Madrid Case
จีน CHINA
เริ่มกันที่เจ้าภาพจีนก่อนเลยครับ อาคาร Pavilion ของจีนมีพื้นที่จัดแสดงทั้งหมด 1 แสน 6 หมื่นตารางเมตร เป็นสิ่งปลูกสร้างถาวรที่จะใช้งานต่อไปหลังจบงาน EXPO ภายในประกอบด้วยศาลาจัดแสดงย่อยของทุกมณฑล และเขตปกครองตนเอง 5 แห่ง ส่วนเขตปกครองพิเศษ 2 แห่ง ฮ่องกง กับมาเก๊า และไต้หวัน จะมี Pavilion แยกออกมาต่างหาก
สหรัฐอเมริกา USA
เยอรมนี GERMANY
ญี่ปุ่น JAPAN
สหราชอาณาจักร ENGLAND
ฝรั่งเศส FRANCE
แคนาดา CANADA
ออสเตรเลีย Australia
รัสเซีย Russia
อิตาลี Italy
สเปน SPAIN
เนเธอร์แลนด์ NETHERLAND
สวิสเซอร์แลนด์ SWITZERLAND
ฮ่องกง HONGKONG
มาเก๊า MACAO
ไต้หวัน TAIWAN
เกาหลี KOREA
สิงคโปร์ SINGAPORE
โปแลนด์ POLAND
โปรตุเกส POTUGAL
ฟินแลนด์ FINLAND
เดนมาร์ค DENISH
ซาอุดิอาระเบีย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ออสเตรีย AUSTRALIA
ตุรกี TURKEY
โรมาเนีย ROMANIA
ไทย THAI
มาเลเซีย MALAYSIA
เวียดนาม VITENAM
ฟิลิปปินส์ FILIPPIN
อินโดนิเซีย INDONISIA
อินเดีย INDIA
ปากีสถาน PAKISTAN
นิวซีแลนด์ NEWZELAND
โมนาโก MONACO
เม็กซิโก MEXICO
ลักเซมเบิร์ก LUXEMBERG
ไอซ์แลนด์ IRELAND
บราซิล BRAZIL
สาธารณรัฐเช็ค CZECH
ฮังการี HUNGARY
คาซัคสถาน KAZAKSTAN
เอสโตเนีย ESTONIA
กรีซ GREECE
ไนจีเรีย NIGERIA
สวีเดน SWENDISH
นอร์เวย์ NORWAY
สโลวาเกีย SLOVAK
โอมาน OMAN
ตูนิเซีย TUNISIA
ยูเครน UKRAINE
เวเนซุเอล่า Venezuela
เปรู PERU
อาคารรวมแอฟริกา AFRICA
แอฟริกากลางและใต้
แอลจิเรีย ALGERIA
ชิลี CHILI
กัมพูชา CAMBODIA
โคลอมเบีย COLUMBIA
คิวบา CUBA
อาคาร Theme Pavilion
พิพิธภัณฑ์ World EXPO MUSEUM
China Aviation
shanghai corporate pavilion
space pavilion
Chengdu case
CREDIT:PANTIP BLUEPLANET
TCBL 17/4/2553