รากเหง้า-ลูกมังกรตระกูล หวง(黄)หรือแซ่อึ้ง
‘หวาง’เป็นชื่อสกุลใหญ่ที่มีพลเมืองมากสกุลหนึ่งมีกำเนิดมากว่าสี่พันปี คนจีนที่มีชื่อสกุลว่า ‘หวาง’ จะเรียกเป็นภาษาจีนกลางว่าคน ซิ่งหวาง2 คนแต้จิ๋วจะเรียกว่า แซ่อึ๊ง คนแคะจะเรียก เซี่ยงหว่อง หรือ เซี้ยงหว่อง แล้วแต่พื้นที่ คนกวางตุ้งจะเรียกเซ็งหว่อง คนไหหลำจะเรียก เต้อุ่ย ซึ่งเป็นความหมายเดียวกัน
หวาง หรือ เหลือง มีความเกี่ยวพันกับจีนอย่างลึกซึ้ง ที่ราบสูงที่อยู่ทางทิศพายัพของประเทศจีนมีพื้นดินเป็นสีเหลือง มีชื่อว่าหวางถู่เกาเหวียน3 หรือที่ราบสูงดินเหลือง แม่น้ำสายหลักที่เป็นต้นกำเนิดอารยธรรมของคนจีน เปรียบเสมือนแม่น้ำมารดาของประเทศที่ไหลผ่านที่ราบสูงแห่งนี้มีชื่อว่าแม่น้ำเหลือง4 และน้ำในแม่น้ำนี้ก็มีสีเหลือง ผิวหนังบนร่างกายของคนจีนเป็นสีเหลืองอ่อน ชนชาวโลกจำแนกคนจีนเป็นชนผิวเหลือง5 เครื่องฉลองพระองค์ของกษัตริย์ใช้สีเหลือง
ตามประวัติศาสตร์จีน หวางตี้6 ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของประเทศจีน พระองค์ทรงปรีชาสามารถในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการศึกสงคราม การปกครอง การผลิตสิ่งของเครื่องใช้
1 หวาง 黃
2 ซิ่งหวาง แซ่อึ๊ง เซี่ยงหว่อง เซี้ยงหว่อง เซ็งหว่อง เต้อุ่ย 姓黃
3 หวางถู่เกาเหวียน 黃土高原
4 แม่น้ำเหลือง 黃河
5 ชนผิวเหลือง黃種人
6 หวางตี้ 黃帝
|
|
ต่างๆ พระองค์สามารถประดิษฐ์เข็มทิศมาใช้ในการรบ สมัยนั้นมีชนเผ่าที่เข้มแข็งเผ่าหนึ่งที่มีผู้นำชื่อ ชือิ๋ว7 หรือชีอิ้ว มีกองทัพที่เกรียงไกรแผ่อิทธิพลไปกว้างไกล พระองค์ล่อให้กองทัพของชือิ๋ว บุกขึ้นไปทางเหนือ จนถึงสถานที่หนึ่งชื่อจัวลู่8 หรือภาษาแต้จิ๋วว่า ตกเต๊ก อาศัยอากาศช่วงฤดูหนาว ปกคลุมไปด้วยหมอก กองทัพข้าศึกไม่คุ้นกับสมรภูมิและทัศนวิสัยที่จำกัดทำให้กองทัพแตกขบวน ในขณะที่กงซุนซวินเหวียน9 หรือ กงซุงฮึงฮ้วง พระนามในขณะนั้นนำเข็มทิศมาใช้ สามารถเคลื่อนพลไปตามทิศทางที่ต้องการ ทำให้ได้ชัยชนะในศึกครั้งนั้น และผนวกชนเผ่าต่างๆเข้าด้วยกันจนเป็นปึกแผ่นในเวลาต่อมา ถือเป็นการเริ่มต้นของประวัติศาสตร์จีน ชนเผ่าต่าง ๆ ได้สนับสนุนพระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ของประเทศจีน ทรงขนานพระนามว่า หวางตี้ หวางแปลว่าเหลือง ตี้คือกษัตริย์ หรือที่เรานิยมเรียกว่าฮ่องเต้ เหตุที่ทรงขนานพระนามว่า หวางตี้ คือ ประเทศจีนเรียกตามภาษาจีนกลางว่า จงกั๋ว10 หรือ ภาษาแต้จิ๋วว่า ตงกก แปลว่าประเทศศูนย์กลาง หมายถึงประเทศจีนเป็นศูนย์กลางของอาณาดินแดนทั้งมวล ตามปรัชญาจีน ศูนย์กลางถือเป็นธาตุดิน ซึ่งมีสีเหลือง11 คำว่าหวางตี้ จึงมีความหมายว่า กษัตริย์ที่เป็นศูนย์กลางของชนทั่วหล้า คนจีนนับถือหวางตี้เป็นบรรพบุรุษรวมของคนจีนทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ คนจีนทั้งหมดต่างเป็นลูกหลานของหวางตี้
7 ชือิ๋ว ชีอิ้ว
8 จัวลู่ ตกเต๊ก
9 กงซุนซวินเหวียน กงซุงฮึงฮ้วง
10 จงกั๋ว ตงกก
|
蚩尤
涿鹿
公孫軒轅
中國 |
|
11 ธาตุดิน มีสีเหลือง - ตามปรัชญาจีน มีการจำแนกธาตุทั้ง 5 คู่กับทิศ และสีดังนี้
ห้าทิศ |
五方 |
ห้าสี |
五色 |
ห้าธาตุ |
ุ五行 |
บูรพา |
東 |
เขียว |
青 |
ไม้ |
木 |
ทักษิณ |
南 |
แดง |
赤 |
ไฟ |
火 |
ศูนย์กลาง |
中 |
เหลือง |
黃 |
ดิน |
土 |
|
หวางตี้มีลูกหลานสืบทอดมาถึงรุ่นที่ 6 คนหนึ่งชื่อหวิน หรือฮุ้ง แปลว่าเมฆ เป็นบุตรคนที่สองของลู่จงกง12 หรือ เลกจงกง ได้รับพระราชทานเมืองหวางกั๋ว13 หรืออึ๊งกก แปลว่า เมืองเหลือง จึงใช้ชื่อเมืองเป็นชื่อสกุล อีกตำนานหนึ่งระบุว่า วันที่ ฮุ่ยเหลียน14 หรือฮุ่ยเลี้ยง ชื่อเดิมของหวิน หรือฮุ้ง ได้รับพระราชทานเมือง มีเมฆสีเหลืองปรากฎทางทิศทักษิณ กษัตริย์ทรงปลื้มปิติและกราบไหว้เมฆเหลืองอันพึงอัศจรรย์นั้น และประทานชื่อสกุลว่า หวาง หรืออึ้ง และชื่อเมืองเป็นหวาง หรือ อึ๊ง เช่นกัน หวางหวินกง15 หรืออึ๊งฮุ้งกงจึงเป็นปฐมบรรพบุรุษต้นตระกูลของสกุลหวาง (อึ๊ง หว่อง อุ่ย) เมืองหวางอยู่ที่มณฑลเหอหนาน16 ในปัจจุบัน ซึ่งมีประวัติสี่พันสามร้อยกว่าปี อย่างไรก็ดี ต้องเข้าใจว่าข้อมูลเกี่ยวกับต้นตระกูลหวางมีหลายแบบ แต่ที่กล่าวมานี้เพียงเป็นแบบที่ชาวตระกูลหวางส่วนใหญ่เชื่อถือ และศาลบรรพชนจะบูชาท่าน หวางหวินกง หรือ อึ๊งฮุ้งกง เป็นปฐมบรรพบุรุษต้นตระกูล
เมื่อลูกหลานตระกูลหวางได้แพร่ขยายเผ่าพันธุ์ไปอย่างกว้างขวาง จนเป็นตระกูลใหญ่ และแตกแขนงไปสถานที่ต่างๆ แคว้นที่ลูกหลานตระกูลหวางมีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์คือแคว้นเจียงเซี่ย หรือกังแห่ และแคว้นเจียงเซี่ย17 หรือกังแห่ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของตระกูลหวาง กล่าวคือถ้าเอ่ยถึงคำว่าเจียงเซี่ย หรือ กังแห่ ก็จะเป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงตระกูลหวาง เพราะฉะนั้น ลูกหลานตระกูลหวางมักนำชื่อเจียงเซี่ย หรือ กังแห่ เป็นชื่อศาลบรรพชน เรียกกว่าเจียงเซี่ยถัง18 หรือ กังแห่ตึ๊ง
12 ลู่จงกง เลกจงกง
13 หวางกั๋ว อึ๊งกก
14 ฮุ่ยเหลียน ฮุ่ยเลี้ยง
15 หวางหวินกง อึ๊งฮุ้งกง
16 เหอหนาน
17 เจียงเซี่ย กังแห่
18 เจียงเซี่ยถัง กังแห่ตึ๊ง
|
陸終公
黃國
惠連
黃雲公
河南
江夏
江 夏 堂 |
ในแคว้นเจียงเซี่ยมีท่านทวดท่านหนึ่ง ชื่อว่า หวางเซียง19 หรือ อึ้งเฮียง นับจาก หวางหวินกงเป็นเหลนรุ่นที่ 83 มีชื่อเสียงมากด้านความกตัญญู เป็น 1 ใน 24 ยอดกตัญญูของคนจีน เมื่อเยาว์วัยก็ได้รับการขนานว่า “ใต้ฟ้าไร้สอง เด็กชายเจียงเซี่ย”20 คือท่านนอกจากเป็นยอดกตัญญูแล้ว ยังมีความสามารถทางวิชาความรู้ การปกครอง ถึงแม้ท่านกำเนิดจากครอบครัวที่ยากจน ก็ใฝ่ศึกษาจนสามารถเป็นขุนนางในตำแหน่งสูงเมื่อเติบใหญ่ ปกครองประชาชนด้วยความรัก คอยขจัดทุกข์ภัย จนเป็นที่รักใคร่ของชนทั่วไป ชาวตระกูลหวางที่เกาะไหหลำส่วนหนึ่ง นับถืออากงท่านนี้เป็นปฐมบรรพบุรุษของแคว้นเจียงเซี่ย ซึ่งอันที่จริงแคว้นเจียงเซี่ยมีกำเนิดขึ้นก่อนอากงท่านนี้เป็นเวลานานแล้ว
ลำดับจากปฐมบรรพบุรุษหวางหวินกง ถึงรุ่นที่ 119 น้องเล็กคนที่ 5 มีชื่อว่าเซียวซัน หรือ เซียวซัว พวกเราเรียกท่านทวดว่าเซียวซันกง21 หรือ เซียวซัวกง อากงท่านนี้เป็นคนมีบุญและมีความรู้ รับราชการอยู่ในราชวงค์ซ่ง22 ท่านมีภรรยา หรือพวกเราเรียกอาม่า 3 คน เป็นคนซิ่งซั่งกวน23 อู๋ และเจิ้ง หรือภาษีแต้จิ๋วแซ่เซี่ยงกัว โง้ว และแต้ เซียวซันกงมีบุตรชายกับอาม่าทั้ง 3คน ๆ ละ 7 คนรวม 21 คน เมื่อเซียวซันกงมีอายุ 66 ปี ได้เรียกประชุมลูกหลาน แล้วมอบนโยบายให้ลูก 21 คนให้พาครอบครัวแยกย้ายกันไปหาภูมิลำเนาที่อุดมสมบูรณ์ทำมาหาเลี้ยงชีพ พร้อมทั้งมอบกลอนบทหนึ่งให้ทุกคนจดจำ เพื่อหลานเหลนรุ่นหลังพบกันในภายภาคหน้า หากสามารถท่องกลอนบทนี้ได้ หมายความว่าเป็นญาติพี่น้องที่มาจากบรรพบุรุษสายเดียวกัน ให้ต้อนรับแบบคนในครอบครัว ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สองคำสุดท้ายของกลอนบทนี้อ่านว่าจี้อชัง หรือจี้เชียง แปลว่าเจริญรุ่งเรือง ดังนั้น ศาลบรรพชนบางแห่งจึงใช้ชื่อเป็น จื้อชังถัง หรือ จี้เชียงตึ๊ง24 ชาวตระกูลหวางที่มีถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของจีนส่วนใหญ่จะเป็นหลานเหลนท่านทวดเซียวซันกง อาจเรียกว่าเป็น จือ25 หรือ ไพ่ ที่ใหญ่ที่สุดของชาวตระกูลหวาง
19 หวางเซียง อึ้งเฮียง
20 ใต้ฟ้าไร้สอง เด็กชายเจียงเซี่ย
21 เซียวซันกง เซียวซัวกง
22 ราชวงค์ซ่ง หรือ ราชวงค์ซ้อง
23 ซิ่งซั่งกวน อู๋ เจิ้ง แซ่เซี่ยงกัว โง้ว แต้
24 จื้อชังถัง จี้เชียงตึ๊ง
25 จือ หรือ ไพ่
|
黃香
天下無雙 江夏黃童
峭山公
宋朝
上官,吳,鄭
熾昌堂
支、派 |
จือ หรือ ไพ่ หมายถึงสาขา หรือ พวก คล้ายกับกิ่งก้านสาขาที่ขยายออกไปของต้นไม้ใหญ่ มักใช้ชื่อบรรพบุรุษที่เป็นศูนย์รวมของลูกหลานเหลนเป็นชื่อจือ หรือ ไพ่ บรรพบุรุษบางท่านได้รับแต่งตั้งไปเป็นเจ้าเมือง และตั้งรกรากมีลูกหลานเหลนในสถานที่อยู่ใหม่นั้น ลูกหลานเหลนในรุ่นต่อมาก็อาจใช้ชื่อบรรพบุรุษท่านที่เริ่มไปตั้งถิ่นฐานใหม่เป็นชื่อจือหรือไพ่นั้น ๆ
จวีเจิ้งกง26 หรือกือเจี่ยกง บรรพบุรุษรุ่นที่ 105 เป็นผู้มีความรู้ดี รับราชการตั้งแต่เป็นจอหงวน จนได้ตำแหน่งที่สูงขึ้นตามลำดับ ท่านย้ายมาอยู่ที่มณฑลกวางตุ้งในสมัยกลางราชวงค์ซ่ง ลูกหลานเหลนชาวตระกูลหวางที่พูดภาษากวางตุ้งนับถือท่านจวีเจิ้งกง หรือกือเจี่ยกง เป็นปฐมบรรพบุรุษของจือหรือ ไพ่
ไม่ว่าจะมีจือ หรือ ไพ่ จำนวนเท่าไร ชาวตระกูลหวางทุกคน ก็ถือมาจากต้นกำเนิดเดียวกัน ดังคำว่า วั่นไพ่ถงเหวียน27 หรือ บ่วงไผ่ตั่งง้วง แปลว่า หมื่นสาขาหมื่นพวกมาจากต้นธารสายน้ำเดียวกัน เป็นตระกูลเดียวกัน ซึ่งทุกท่านทราบดี คนแซ่เดียวกันจะไม่แต่งงานกัน เพราะเป็นพี่น้องตระกูลเดียวกัน
26 จวีเจิ้งกง กือเจี่ยกง ข้อมูลแหล่งหนึ่งว่าเป็นรุ่นที่ 105
27 วั่นไพ่ถงเหวียน บ่วงไผ่ตั่งง้วง
|
居正公
萬派同源 |
ที่มา: www.hwangfamily-thailand.com
TCBL 10/9/2552