รากเหง้าลูกมังกร-ตระกูลเฉิน (陈 หรือ แซ่ตั้ง)
ไม่ทราบว่าเหล่าลูกหลานจีนทั้งหลาย ยังพอจำแซ่ตระกูลดั้งเดิมของตัวเองได้หรือไม่ (หรือว่าเหลือแต่นามสกุลโดยทิ้งแซ่ไปแล้ว) ถ้าหากใครยังพอจำได้ ช่วยบอกกล่าวกันหน่อย ถ้าได้เป็นภาพษาจีนจะดีมาก แต่ถ้าไม่ได้ จะบอกเป็นจีนแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง หรือจีนอะไรก็ได้ แต่ขอให้บอกความหมายมาด้วย จะได้ช่วยค้นให้
สำหรับใครที่แซ่ตั้ง หรือ เฉิน (陈)ในภาษาจีนกลาง อันเป็นหนึ่งในห้าตระกูลที่มีประชากรมากที่สุดในโลก มีใครพอทราบรากเหง้าของตระกูลว่าเริ่มมากจากเมื่อไรหรือที่ไหนบ้าง
(ในภาพคือ สัญญลักษณ์ประจำตระกูลเฉิน)
ต้น กำเนิดของตระกูลเฉิน คงต้องย้อนหลังกลับไปก่อนคริสตกาล 1043 ปี ในสมัยโจวอู่อ๋อง (周武王-ดูภาพประกอบ) กษัตริย์ในแคว้นโจวตะวันตก (西周) ได้ค้นหาทายาทของกษัตริย์
ซุ่นตี้ (舜帝)ของราชวงซาง (商)ซึ่งได้ล่มสลายไปแล้ว จนได้พบกุยหม่าน (妫满) ซึ่งเป็นทายาทสืบสกุลของซุ่นดี้ อู่อ๋องจึงได้ยกลูกสาวให้แต่งงานกับเขา และแต่งตั้งให้เป็นขุนนางปกครองเมืองเฉิน (ปัจจุบันคืออำเภอฮว่วยหยัง(淮阳)ในมณฑลเหอหนาน) เพื่อให้เฝ้าสุสานของซุ่นดี้ เมื่อกุยหม่านเสียชีวิต ได้รับพระราชทานนามว่า เฉินหูกง (陈胡公) อันเป็นต้นกำเนิดของตระกูลเฉิน โดยทายาทรุ่นหลังของเขาต่างใช้เป็นแซ่ของตน และถือเป็นต้นกำเนิดของตระกูลที่ถูกต้อง
ต้นกำเนิดตระกูลเฉินยังแยก ออกเป็นอีกสองสาย สายหนึ่งมาจากสมัยแคว้นเว่ยเหนือ (北魏)ยุคสามก๊กที่มากจากคนแซ่อื่นเปลี่ยนแซ่เป็นแซ่เฉิน ส่วนอีกสายหนึ่งมาจากประเทศอันหนาน (ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) โดยกษัตริย์ของอันหนานแซ่เฉิน ซึ่งชนรุ่นหลังของเขาก็แซ่เฉินสืบต่อมา
บุคคลสำคัญในตระกูลเฉินในยุคโบราณคือ
แคว้นเฉิน (陈国)ในยุคชุนชิวมีเฉินคั่ง 陈亢 ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของขงจื๋อ
ในปลายยุคราชวงศ์ฉิน มีเฉินเซิ่น 陈胜 ผู้นำชาวนาที่ลุกขึ้นมาล้มล้างราชวงศ์
สมัยซีฮั่น 西汉 มีขุนนางที่ปรึกษาชื่อเฉินผิง 陈平
ยุคจิ้น 晋代 มีนักประวัติศาสตร์ชื่อเฉินโซ่ว 陈寿
ในราชวงศ์หนัน 南朝 มีเฉินป้าเซียน 陈霸先 ผู้ก่อตั้งราชวงศ์เฉินเป็นเฉินอู่ดี้ (陈武帝)
ในราชวงศ์ถังมีกวีเอกชื่อเฉินจื่ออัง 陈子昂
ในราชวงศ์ซ่งมีนักคิด นักเขียนชื่อเฉินเลี่ยง 陈亮
ในราชวงศ์หมิงมีนักกลอนผู้รักชาติชื่อเฉินจื่อหลง 陈子龙
ศิลปิน นักไวโอลินระดับโลกคือ Vanessa Mae (陈美)
หากจะถามว่า ชาวจีนที่เข้ามาอยู่ผืนแผ่นดินไทยครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไรนั้น หากจะสืบสาวกันแล้วน่าจะอยู่ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (宋 – ค.ศ. 980-1276) จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือ “ประวัติศาสตร์ซ่ง 宋史” ได้บันทึกไว้ว่า เมื่อแคว้นซ่งใต้ล่มสลายนั้น เฉินหยีจง (陈宜中)ซึ่งเป็นชาวหย่งเจีย (永嘉)มณฑลเจ้อเจียง (浙江)ซึ่งเป็นขุนนางฝ่ายซ้ายในราชสำนัก เมื่อแคว้นอ้าวใต้ 南澳พ่ายแพ้ เฉินหยีจงได้รับคำบัญชาให้ไปปกครองเมืองจานเฉิน (占城 – อยู่ในประเทศเวียดนามในปัจจุบัน)จนถึงราชหยวนปีที่ 19 (ค.ศ. 1282) เมืองดังกล่าวได้ถูกกองกำลังของหยวนเข้ายึดครอง เฉินหยีจงจึงหนีมาอยู่เสียน (หรือเสียมก๊ก – หมายถึงไทยในสมัยนั้น) และได้จบชีวิตที่นี่ในภายหลัง
การหนีมาอยู่เมืองไทยของเฉินหยีจงไม่ใช่หนีมาแบบไม่รู้เกี่ยวกับเมืองไทยอะไรเลย เนื่องจากครั้งที่เขาไปอยู่เมืองจานเฉินนั้น เขาได้รู้จักพ่อค้าชาวเจ้อเจียงคนหนึ่ง ซึ่งล่องเรือค้าขายบนเส้นทางหมิงโจว 明州 (ปัจจุบันคือเมืองหนิงปัว 宁波)- ราชบุรี (ในปรวัติศาสตร์บันทึกเป็นภาษาจีนว่า เมืองเจินลีฟู่ – 真里富)ซึ่งเป็นเส้นทางค้าขายที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1165 โดยคนจีนในยุคนั้นเรียกประเทศที่พวกเขาไม่คุ้นเคยว่า 浔番 หรือสุพรรณ ดังนั้น ในปี 1282 เฉินหยีจงจึงนำไพร่พลอีกจำนวนหนึ่งมุ่งหน้าสู่ “สุพรรณ” แล้วใช้ชีวิตในบั้นปลายที่นี่
ตระกูลเฉิน หรือตระกูลตั้งในประเทศไทยที่เป็นที่รู้จักคือ
รัตกูล
โภภณพาณิชย์
เกยุราพันธ์
ชุนหะวัณ
วสุรัตน์
ตั้งมติธรรม
ด่านไพบูลย์
ข้อมูลจาก Thai Chinese Blog
http://www.thaichinese.net/
TCBL 11/8/52