คำเล่าที่หนึ่ง ในสมัยซางโจ้วอ๋อง (商纣王) ทายาทของเกาถาว คือ หลี่เจิง (理征) ซึ่งราชการในราชสำนัก และได้ทำผิดต่ออ๋อง จึงถูกลงโทษประหารชีวิต ส่วนภรรยาได้พาลูกชาหลบหนีเอาชีวิตรอด ในระหว่างหนีภัยนั้น อยู่ในป่าได้อาศัยลูกหลี่ (李子-ชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง-ดูภาพประกอบ) กินประทังชีวิต จึงรอดตาย และไม่กล้าที่จะใช้คำว่า 理 เลขจึงถือโอกาสเปลี่ยนแซ่เป็น 李
ส่วนคำเล่าที่สอง กล่าวกันว่า ตามหลักฐานการบันทึกในประวัติศาสตร์ ในสมัยราชวงศ์โจว (周朝)นั้น ยังไม่เคยปรากฏมีคนแซ่หลี่ (李) ตั้งแต่มีเล่าจื๋อแซ่หลี่ ทายาทรุ่นหลังเกาถาว เนื่องจากเห็นว่า บรรพชนหลายรุ่นต่างรับราชการตำแหน่งหลี่ 理 และ 理 กับ 李 ก็ออกเสียงเหมือนกัน จึงเปลี่ยนแซ่เป็น 李
2. มาจากชนเผ่าอื่นมาเปลี่ยนแซ่
-ในสมัยสามก๊ก เมื่อขงเบ้งได้เอาชนะอายหลาวยี (哀劳夷) แล้ว ก็ได้มอบแซ่ต่างๆ เช่น จ้าว (赵)จาง (张)หยาง (杨) หลี่ (李)เป็นต้น ให้เป็นแซ่ของชนเผ่ากันเป็นชนกลุ่มน้อยเหล่านั้น
-สมัยเป่ยเว่ย (北魏)มีชนเผ่าเซียนเปย (鲜卑) มีตระกูลฟู่ (复)เปลี่ยนเป็นแซ่หลี่ (李)
-ในส่วนของชนเผ่าหุย (回族)ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับราชทานแซ่มาฮ่องเต้ ส่วนตระกูลหลี่ของชนเผ่าหุยนี้ ได้รับแซ่หลี่ในศรรตวรรษที่ 7 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวเปอร์เชียและอาหรับที่อพยพเข้ามาประเทศจีน
3. เป็นการเปลี่ยนจากแซ่อื่นมาเป็นแซ่หลี่
กล่าวกันว่า ในสมัยราชวงศ์ถัง ยุคที่กำลังศร้างชาตินั้น 元勋诸 (yuan2 xun1 zhu1) ซึ่งเป็นผู้ที่มีผลงานอันยิ่งใหญ่ จึงได้พระราชทานแซ่หลี่ (李)ให้แก่ลูกหลานของเขา จากแซ่เดิมว่า ถังกั๋ว (唐国)ตัวอย่างของตระกูลหลี่ที่เปลี่ยนแซ่จากแซ่อื่น เช่น หลึ่หยวนฮ่าว ( 李元昊)
4. มาจากรูปแกะสลักบนเสาหิน
สำหรับที่มาของสายนี้ บางตำราอาจไม่ให้ความสำคัญนัก เนื่องจากเป็นการตีความจากรูปแกะสลักที่มองต่างมุมกัน โดยมองเห็นว่าไม่ใช่ต้นหลี่ (李树)หากแต่เป็นภาพเสือ (老虎)ซึ่งภาษาของแคว้นฉู่ (楚)นั้น คำว่า “หลี่เอ๋อ 李耳” อันเป็นฉายาของเล่าจื๋อหมายถึงเสือ (老虎)และปีเกิดของเล่าจื๋อก็ตรงกับปีเสือ ด้วยเหตุผลนี้ชาวบ้านจึงเรียกเล่าจื๋อว่าหลี่เอ๋อ 李耳
5. มาจากแซ่เหล่า (老姓)
การบอกเล่าของสายถือ ถือเป็นความสับสนของผู้คนที่เล่าจื๋อ (老子)หรือเหล่าจื่อนั้นไม่ได้แซ่หลี่ หากแต่แซ่เหล่าต่างหาก ดังนั้น จึงถือว่าตระกูลหลี่จึงมาจากตระกูลเหล่านั่นเอง และนักโบราณคดี-ถังหลาน (唐兰)ก็ยอมรับว่า เหล่าจือไม่ได้แซ่หลี่ เพราะการที่เรียกเหล่าจือว่า หลี่เอ๋อ ก็เป็นเพียงฉายาที่ใช้เรียกกันในสมัยนั้น ดังนั้น เมื่อเหล่าจือเป็นคนแซ่หลี่ก็เท่ากับว่าเป็นการเปลี่ยนจากแซ่เหล่าเป็นแซ่หลีนั่นเอง
บุคคลมีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์
เนื่องจากตระกูลหลี่เป็นตระกูลใหญ่และเก่าแก่ ดังนั้น ในประวัติศาสตร์จีนจึงมีบุคคลมีชื่อเสียงต่างๆที่มาจากคนแซ่หลี่เข้าสู่อำนาจทางการเมือง นับตั้งแต่แคว้นเฉิงฮั่น (成汉)ในช่วงปีค.ศ. 304-343) โดบมีผู้ก่อตั้งแคว้นคือหลี่สง (李雄) เรื่อยมาในยุคต่อๆมา ในสมัยราชวงศ์ถัง ที่มีคนในตระกูลหลี่เป็นใหญ่เป็นโตจำนวนมาก ส่วนประเทศข้างเคียงของจีน ก็มีเกาหลีและเวียดนาม ต่างก็มีคนในตระกูลหลี่เป็นถึงผู้ก่อตั้งราชวงศ์ทั้งสิ้น ส่วนในด้านกวีเอกอย่างหลี่ไบ๋ (李白)ก็เกิดในสมัยราชวงศ์ถัง สำหรับบุคคลตระกูลหลี่ในยุคหลังๆที่พวกเรารู้จักกัน เช่น หลีเสี่ยวหลง (李小龙 บรุ๊ซ ลี) หลี่เผิง (李鹏)อดีตนายกฯของจีน ลีกวนยิว (李光耀)หลี่เซียนเนี่ยน (李先念)อดีตผู้นำทางทหารของจีน เป็นต้น
ตระกูลหลี่ในประเทศไทย
สำหรับคนแซ่หลี่ในประเทศไทยนั้น เนื่องจากต่างก็เปลี่ยนไปใช้นามสกุลไทย การคงเสียงหลี่จึงมีการแปรรูปเป็นรูปแบบต่างๆกัน เช่น
1. ลี เช่น ลีลาวณิชกุล ลีลาประชากุล ลีลารัศมี ลีลามั่งคง เป็นต้น
2.ลี้ลา เช่น ลี้ถาวร ลี้อิสระนุกุล
3.ลี เช่น ลีนุตพงศ์ ลีรุ่งเรือง
4. เิลิศ เช่น เลิศศิริมิตร เลิศนำพงศ์ เลิศชัยประเสริฐ เป็นต้น
ข้อมูลจาก Thai chinese blog
http://www.thaichinese.net/
TCBL 11/8/52
|